“ความสุขและทุกข์ของสุวรรณี สาคณา”  โดย ศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก 

1166 Views  | 

“ความสุขและทุกข์ของสุวรรณี สาคณา”  โดย ศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก 

เนื่องในนิทรรศการศิลปกรรมของสุวรรณี สารคณา “วิถีชีวิต-ทุกข์และสุขมีร่วมกัน” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า  วันที่ 2-30 เมษายน 2554 เมื่อเราดูผลงานศิลปะ เราอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาในใจมากมายโดยเฉพาะคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการดูผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกๆ เริ่มต้นตั้งแต่คำถามเบื้องต้น เช่น นี่หรือศิลปะ นี่หรือคือสุนทรียภาพ ไม่เห็นสวยเลย ไม่เห็นน่าดูตรงไหน ถ้านิทรรสการที่การประกวด ก็อาจจะเกิดคำถามตามมาอีกชุดหนึ่ง เช่น ผลงานชั้นนี้มีคุณค่าอย่างไร ไม่เห็นงามตรงไหน ชิ้นนั้นดีกว่า สวยกว่า ผีมือประณีตกว่า วาดเหมือนกว่า ทำไมไม่ดีรางวัล นี่คือเรื่องปรกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอๆ ศิลปกรรมที่เราจัดอยู่ในกรอบของคำว่า “เหมือนจริง” หรือที่เราเรียกในแบบวิชาการว่า “สัจนิยม” นั้นความเหมือนจริงมีหลายแบบ หลายลักษณะ และหลายระดับ ตั้งแต่เหมือนละเอียด เหมือนทุกเส้น ทุกสี ทุกจุด ในแบบที่เรียกกันว่าซูเปอร์เรียลิสม์ ไปจนถึงความเหมือนที่ค่อนข้างหยาบไม่เหมือนคมชัดทุกๆ ในสายตาของสาธารณชนทั่วไปก็อาจจะชื่นชอบและชื่นชมกับศิลปกรรมที่มีความเหมือนแบบละเอียด ประณีตชื่นชมในทักษะฝีมือที่ยอดเยี่ยม ผู้ที่เริ่มต้นซื้อศิลปกรรมเพื่อตกแต่งอาคารบ้านเรือนหรืออาคารสำนักงานก็จะเริ่มต้นซื้อผลงานในลักษณะนี้ก่อน
 
อันที่จริงคุณค่าของศิลปะมิใช่การจำลองเลียนแบบหรือทำให้เหมือนจริงอย่างที่สุดความเหมือนเป็นเพียงรูปแบบ หรือภาษา หรือสื่อในรูปแบบหนึ่งเท่านั้น มิใช่จุดมุ่งหมาย และภายใต้กรอบของคำว่า “เหมือนจริง” นั้น
 
ศิลปินแต่ละคนล้วนแต่แสดงความเหมือนที่เรียกได้ว่าแตกต่างจากความเหมือนในภาพถ่ายด้วยเหตุผลที่เป็นตรรกคือปัจจุบันการถ่ายภาพก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าเป็น“สื่อ”ในการสร้างสรรค์ศิลปะได้เพราะฉะนั้นศิลปินจะเสียเวลามาทำซ้ำภาพถ่ายทำไมตัวอย่างจากชั้นเรียนศิลปะเบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพเหมือนจากแบบคนจริงๆหรือจากวัตถุที่อาจารย์จัดเป็นแบบไว้ให้หรือการวาดภาพทิวทัศน์ในสถานที่จริงที่เดียวกันนักศึกษาแต่ละคนจะวาดออกมาไม่เหมือนกันเลยทั้งๆ ที่วาดจากต้นแบบเดียวกัน ในระดับนักศึกษานั้น สาเหตุส่วนหนึ่งของผลงานที่มีความเหมือนแตกต่างกันไปเกิดจากระดับของทักษะฝีมือที่แตกต่างกันด้วย แต่ในระดับศิลปินแบบอย่างความเหมือน (Style) เกิดจากทัศนคติการมองโลก บุคลิก อุปนิสัย และรสนิยมส่วนตัวที่เป็นปัจเจกลักษณ์ ดังตัวอย่างเช่น จักพันธ์ โปษยกฤต วราวุธ ชูแสงทอง ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี สุรเดช แก้วท่าไม้ ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง แต่ละท่านล้วนแล้วแต่มีแบบอย่างความเหมือนที่แตกต่างกัน และแตกต่างจากความเหมือนแบบภาพถ่าย กล่าวได้เลยว่า แบบอย่างความเหมือนศิลปินแต่ละท่านมีลักษณะสะท้อนให้เห็นบุคลิกตัวตนที่เป็น “ต้นแบบ” นี่คือตัวอย่างที่เรียกว่าเป็นผลงาน “สร้างสรรค์” ที่เป็นศิลปะ
 
คุณค่าสำคัญที่สุดประการหนึ่งของทัศนศิลป์ก็คือสุนทรียภาพ หรือความงามที่ไม่ใช่ความสวยสามัญของวัตถุ แต่เป็นความงามที่ประสานไปกับความจริงที่ก่อให้เกิดผลแห่ง “ความดี” ขึ้นในจิตใจของผู้ดู ดังนั้น ความงามที่กล่าวถึงอยู่นี้จึงลักษณะหลายแบบหรือหลายระดับ ขึ้นอยู่กับกาละและเทศะ รวมทั้งปัจเจกบุคคลด้วย ถ้าเรามองจากมุมของความงาม ผลงานของจักรพันธ์ ปายกฤต วราวุธ ชูแสงทอง และศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี ต่างมีความงาม คนละแบบแตกต่างไป
 
คุณค่าสำคัญอีกประการหนึ่งของศิลปะคืออารมณ์ความรู้สึกศิลปะเป็นภาษาที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อสื่ออารมณ์ ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการสื่อสารด้วนภาษาถ้วยคำ ศิลปินแต่ละสาขามีจิตใจที่ประณีตและอ่อนไหว เมื่อได้รับความสะเทือนใจ ประทับใจ และบันดาลใจจากชีวิตและโลก พวกเขาก็จะแสดงออกมาในผลงานด้วยพรสวรรค์ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญและด้วยกลวิธีทางศิลปะรวมทั้งภาษาเฉพาะของศิลปะ พวกเขาสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกทาง “ใจ” ไปถึงผู้ดูได้ ปัญหาในส่วนของผู้ดูที่ไม่คุ้นเคยกับ “ภาษาภาพ” ของทัศนศิลป์และไม่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์แห่งศิลปะจึงมักจะพลาดเป้าหมายในการ ดูศิลปกรรมไป นั่นคือ การพยาบาลดูให้ “รู้เรื่อง” ทั้งๆ ที่เรื่องราวในทัศนศิลป์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพนิ่งภาพเดียว ศิลปินจึงไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวอะไรได้มากมายอย่างเช่นวรรณศิลป์ ละครหรือภาพยนตร์ เป้าหมายสำคัญของการดุศิลปกรรมจึงมิใช่การดูให้ “รู้เรื่อง” แต่เป็นการดูให้ “รู้สึก” มากกว่า เช่นเดียวกับการฟังเพลงของ คีตศิลป์คงไม่มีผู้ฟังท่านใดพยายามฟังให้รู้เรื่อง ถึงแม้จะเป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง เรื่องราวความหมายของเพลงก็ต้องประสานเป็นหนึ่งเดียวกับท่วงทำนองจังหวะลีลา อันเป็นภาษาของ “โสตศิลป์” ความไพเราะจึงเกิดขึ้นได้ เรื่องราวและความหมายของศิลปะทั้งสองสาขานี้ก็คล้ายกันในส่วนที่เป็นรูปธรรม ก็คือทัศนศิลป์ในแนวเหมือนจริงกับ คีตศิลป์ที่มีเนื้อร้อง ผลงานอีกส่วนหนึ่งเป็นนามธรรมที่ผู้ดุหรือผู้ฟังไม่สามารถรับรู้เรื่องราวใดๆ ได้เลยนอกจากจะรู้เรื่องเพียงเล็กน้อยจากชื่อของผลงานเท่านั้น
 
ถ้าเรามองในภาพรวมของทัศนศิลป์คุณค่าหลักทั้ง 3 คือ ความงาม อารมณ์ความรู้สึกและเรื่องราวความหมาย คือเนื้อหาสาระหลักเพียงแต่ว่าศิลปะบางยุค บางสมัย หรือบางลัทธิรวมไปถึงศิลปินบางกลุ่มและ บางคน อาจจะเน้นไปในคุณค่าเฉพาะ เช่นนั้นเรื่องความงาม หรือเน้นเฉพาะอารมณ์ความรู้สึก หรือศิลปินบางยุคบางกลุ่มปฏิเสธต่อต้านความงาม ซึ่งอันที่จริงเป็นการต่อต้านความงามเฉพาะที่พัฒนาไปจนถึงจุดอิ่มตัว ซ้ำตัวเองจนน่าเบื่อ ศิลปินไม่สามารถความเป็นไปได้ใหม่ๆ อีก จึงต้องคิดขบถต่อต้านความงามในแบบนั้นเพื่อค้นหาความงามแบบใหม่ๆ สำหรับศิลปินส่วนใหญ่ผลงานของพวกเข้ามักจะมีคุณค่าทั้ง 3 ด้านคือ มีเรื่องราวความหมาย มีความงาม และมีอารมณ์ความรู้สึก บางชุดอาจจะมีจุดหมายเน้นเฉพาะความงามบางชุดเน้นเฉพาะอารมณ์รู้สึก และผลงานทั้งหมดก็มีเรื่องราว ความหมาย แล้วแต่ประสบการณ์ชีวิตในแต่ละช่วง แต่ละตอนแตกต่างกันไป
     
สุวรรณีสารคณาเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานที่อยู่ระหว่างเหมือนจริงที่มีความงามและกึ่งเหมือนจริงที่เน้นอารมณ์ความรู้สึก ผลงานทุกชั้นทุกชุดล้วนแต่มีเรื่องราวความหมายสะท้อนสังคม สะท้อนชีวิตมนุษย์ทั้งทุกข์และสุข ดังหัวข้อของนิทรรศการ “วิถีชีวิต : ทุกข์และสุขมีร่วมกัน” สุวรรณีมิได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องสะท้อนสังคมในแง่ลบตามกระแสนิยม การทำงานของเธอเป็นไปตามธรรมชาติของการสร้างสรรค์ที่อาศัย“ใจ” สัมผัส เมื่อเธอเกิดความสะเทือนอารมณ์สะเทือนใจในเรื่องใดเธอก็จะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกมาในผลงานการทำงานศิลปะตามธรรมชาติแบบนี้ทำให้สุวรรณีไม่เคยพบปัญหาทางความคิดอย่างเช่น นักศึกษาศิลปะหรือศิลปินหนุ่มสาวจำนวนมากในยุคนี้ที่ขาดแนวความคิดหรือขาดจุดหมายในการสร้างสรรค์ไม่รู้ว่าจะสร้างสรรค์๕ไปทำไมหรือเพื่ออะไร แต่การสร้างศิลปะด้วยกลวิธีแบบนี้ก็มิได้หมายความว่าสุวรรณทำงานตามอารมณ์ตามใจอย่างไม่มีระเบียบ ไม่มีระบบ วนเวียนทำซ้ำตนเองอย่างไม่มีการเปลี่ยนหรือไม่มีพัฒนาการ ผลงานจำนวนมากที่เธอสร้างออกมา 10 กงว่าปีแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสุวรรณีระบบการทำงานเป็นชุดเป็นช่วงเวลาแต่ละชุดก็มีแนวคิดเฉพาะเช่น ชุด “ชีวิตวัยชรา” สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2543 – 2551 และชุด “ครอบครัวในชนบท” ปี พ.ศ. 2552 – 2554
 
จิตรกรรมชุดแรก “ชีวิตวัยชรา” เป็นเรื่องราวของคนชราในชนบทจำนวนมากที่ถูกลูกหลานทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเพื่อไปทำงานในกรุงเทพฯ คนชราเหล่านี้ต้องเผชิญกับโดยไม่มีใครดูแล เรื่องราวเนื้อหาจึงเป็น เรื่องของความทุกข์ สุวรรณีเลือกวัสดุและเทคนิคที่สอดคล้อง โดยเธอใช้ผ้าเส้นใยที่ไม่ได้ขึงให้ตึงเรียบแบบผ้าใบ บนกรอบไม้ที่ศิลปินใช้กันอยู่ทั่วไป ผ้าเส้นใยมีผิวที่หยาบ ยับ ย่น ร่องรอย ของฝีแปรงที่ปาดป้ายลงไผก็เช่นเดียวกันที่มีลักษณะหยาบ ดิบ กระด้าง สัมพันธ์กับสีทีสด ดิบและขัดแย้ง ล้วนแล้วแต่ส่งเสริมให้อารมณ์ที่แสดงออกรุนแรงยิ่งขึ้นเอกภาพของผลงานชุดนี้ยังเด่นชัดด้วยการจัดวางรูปทรงของคนชราในกิริยาท่าทางของการนอนแบบ หมดสิ้นพลังแห่งชีวิต คนชราในแต่ละภาพจึงเหมือนกองผ้าชี้ริ้วเก่า ๆ ที่ถูกทอดทิ้งไว้อย่างไร้ค่า ทั้งรูปทรง เรื่องราว และทัศนธาตุทั้งหมดประสานกันส่งแรงปะทะมาสู่คนดูอย่างรุนแรง สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายที่สุวรรณีกำหนดไว้อย่างเป็นอย่างดี
 
ผลงานในชุดที่ 2 “ชีวิตในเมือง” เป็นเรื่องราวและความหมายเกี่ยวกับวิถีชีวิตในเมืองใหญ่อย่างเช่นกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายสับสน และขัดแย้ง จิตรกรรมของสุวรรณีชุดนี้เกิดจากการเฝ้าสังเกต เฝ้ามองโดยเฉพาะจากมุมมองของเด็กสาวชนบทที่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เมื่อเธอเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ทุกอย่าง จึงดูเสมือนวุ่นวายสับสนเกินไปกว่าความเป็นจริง ความสัมฤทธิ์ผลของจิตรกรรมชุดนี้ก็เช่นเดียวกับชุดแล้ว ที่เกิดจากการใช้รูปทรงคน สิ่งของ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือวัตถุธรรมชาติบอกเล่าเรื่องราวประสาน เป็นหนึ่งเดียวกับทัศนธาตุสีสัน แสงเงา พื้นผิว และฝีแปรง ถ่ายทอด อารมณ์ความรู้สึกตรงออกมาจากใจ อย่างไม่คำนึงถึงรูปทรง องค์ประกอบ และความงามใดๆ
 
การทำงานสร้างสรรค์ของสุวรรณีตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเป็นธรรมชาติ หรือเป็นไปเองตามที่ “ใจ” ไปสัมผัสกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในชีวิตจริง ประสบการณ์จริง แล้วเกิดความหวั่นไหว สะเทือนใจ เธอก็จะนำมาถ่ายทอดลงในผลงาน โดยไม่เคยมีปัญหา “การคิดไม่ออก” ขาดซึ่งแนวความคิดหรือขาดซึ่งเป้าหมาย หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือสุวรรณีทำงานศิลปะอย่างที่เขาทำกันแบบดั้งเดิมในความหมายที่ไม่เก่าล้ำสมัยซึ่งระบบการสร้างสรรค์ที่เริ่มต้นจาก “ใจ” ดังที่ได้กล่าวไปแล้วยังเป็นระบบที่เป็นธรรมชาติ ไม่ล้ำสมัย ไม่พ้นยุค โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาเข้าไปให้ละเอียด เราก็จะพบว่า “ระบบ” ของเธอมิได้ใช้ “ใจ” เพียงอย่างเดียวแต่สุวรรณียังคงใช้ “สมอง” ในการสร้างสรรค์ควบคู่กันไปด้วย หรืออาจจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า สุวรรณีมิได้ใช้สมองซีกขวา แต่เธอใช้สมองซีกซ้ายควบคู่ไปด้วย เห็นได้ประจักษ์ชัดจากตัวผลงานแต่ละชุด เช่น ชุดที่มีขนาดเล็ก มีพื้นดำทั้งภาพ ซึ่งเรื่องราวในภาพเห็นเพียงแขนและมือในกิริยาอาการต่างๆ ดูคล้ายกับภาษามือของคนใบ้ เรื่องราวที่ผู้ดูรับรู้ได้นอกจากมือแล้วก็คือซื่อของผลงานที่บอกสภาวะจิตใจ ก็คือ กดไว้ กอดไว้ ทับไว้และเรื่องราวที่ผู้ดุมองเห็นก็มีเพียงรอยฉีกขาดที่กระตุ้นให้ผู้ดูคิดและรู้สึกถึงบาดแผล ความเจ็บปวด ความทุกข์ อันเป็นสภาวะนามธรรมทางจิตใจซึ่งเธอแสดงออกมาอย่างเรียบง่าย ไม่มีการบอกเล่าหรือแสดงอารมณ์ด้วยภาษาภาพที่รุนแรงอย่างเช่นชุดก่อนๆ การที่ศิลปินก้าวกระโดดออกจาก “กรอบ” ของแบบอย่างที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวได้เช่นนี้ ดังที่ได้กล่าวไป แล้วว่าเป็นไปตาม “ธรรมชาติ” ของการสร้างสรรค์ในแบบของศิลปินที่แท้จริง
 
การสร้างสรรค์ศิลปะของสุวรรณีในอีกชุดที่หลุดจาก “กรอบ” มาตรฐานเดิมที่เคยทำมาตั้งแต่ต้น ในเรื่องราว “ความทุกข์” คือชุด “ครอบครัวในชนบท” ซึ่งเป็นเรื่องราวของความ “สุข” ความรัก ความอบอุ่น ขัดแย้งตรงกันข้ามกันแบบสุดโต่ง ผลงานชุดนี้ทั้งวาดเส้นขาวดำบนผ้าใบขนาดใหญ่เท่าๆ กับจิตรกรรมหรือ ใหญ่กว่า วาดเส้นชุดนี้ยังมีลักษณะเป็นขาวดำและมีความเหมือนจริง รวมทั้งมี “ความงาม” มีชีวิตชีวามีความ เป็นจริง แสดงให้เห็นทักษะฝีมือที่เชี่ยวชาญ และสะท้อนให้เห็นว่าความหยาบ ความดิบที่ดูไม่ประณีตงดงาม ของผลงานในชุดก่อนหน้านี้เป็นเจตน่าที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่รุนแรง มิใช่การหลีกเลี่ยงความเหมือนจริงและความงาม เพราะไม่มีทักษะหรือฝีมือคุณค่าของศิลปกรรมร่วมสมัยในยุค “ปัจเจกนิยม” อาจจะเข้าถึงได้ยากเพราะมีลักษณะเฉพาะอย่างยิ่งของศิลปินแต่ละคน ทั้งแนวคิด จุดมุ่งหมาย เรื่องราวเนื้อหา รวมไปถึงเทคนิค วัสดุ และวิธีการต่างๆ การดูงานของศิลปินเพียงชิ้น – สองชิ้นอาจจะเข้าไม่ถึงคุณค่าที่แท้จริงได้ ดังนั้นการแสดงเดี่ยวจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่
 
จะทำให้สาธารณชนเข้าถึงศักยภาพและตัวตนของศิลปิน การได้เห็นผลงานของสุวรรณีทั้งหมดก็เช่นกัน ถ้ามองในภาพรวมจะเห็นได้ว่าสุวรรณีนิยมการแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึก เธอสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่เธอรู้สึกสะเทือนใจออกมาให้ผู้ดูรู้สึกร่วมไปด้วยได้ ด้วยศักยภาพด้วยทักษะฝีมือ ด้วยกลวิธีทางศิลปะ และด้วยภาษาภาพของศิลปะที่เชี่ยวชาญ เรื่องราวโลก ของสังคมธรรมดาๆ เมื่อมองเห็นในผลงานของเธอกลับดูไม่ธรรมดา สุวรรณีมีกลวิธีหลายประการที่จะทำให้ผลงานในแนวคิดเดียวกันเรื่องราวเดียวกัน ดูไม่เหมือนกัน แต่มีความหลากหลาย ไม่ซ้ำ ไม่น่าเบื่อ เช่น ภาพคนในท่านอนของชุด “ชีวิตวัยชรา” ดูยุ่งเหยิง ขาดระเบียบ ขัดแย้งกับภาพในท่านอนของเด็กในชุด “ครอบครับในชนบท” ดูเป็นระเบียบ สวยงาม หรือผู้ห่มในชุดแรกดูยุบยุ่งเหยิงเป็นกองเหมือนขยะกับผ้าห่ม ของเด็กในชุดหลังที่มีลวดลายเรขาคณิตเป็นระเบียบสวยงาม รวมไปถึงลวดลาย ของเสื่อที่ปูนอนด้วย บางชุด บางภาพมีการจัดวางองค์ประกอบกล้าหาญ เช่น ตัดภาพมาให้เห็นเพียงแขนขา มือและเท้าเท่านั้น บางชิ้น เช่น ผลงานวาดเส้นชื่อ “พักผ่อน” นอกจากองค์ประกอบที่ตัดมาเฉพาะช่วงล่างจากเอวถึงปลายเท้าแล้ว พื้นที่ว่างส่วนล่าง สุวรรณียังปล่อยให้เป็นพื้นที่สีขาว มีเพียงพื้นผิวหยาบ ๆ ขาวสะอาดเพียงเล็กน้อย องค์ประกอบของ ภาพที่ดูแปลกใหม่แตกต่างอีกภาพคือ “อีสานหน้าหนาว” ซึ่งผลงานในชุดนี้ส่วนใหญ่จะมีเด็กนอนติดๆ กัน หลายๆ คน เพื่อสื่อถึงเรื่องราวความสุข ความรัก ความอบอุ่น แต่ในจิตรกรรมชิ้นนี้กลับเหลือเด็กนอนเดียวดาย อยู่เพียงคนเดียว เปิดพื้นที่ว่างกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยเสื่อที่มีลายสานเต็มแน่นตลอดพื้นที่เปิดกว้าง เช่นเดียวกับภาพชื่อ “อีสานหน้าร้อน” ที่มีขนาดใหญ่ 195 x 300 ซ.ม. เท่ากัน ที่มีเด็กนอนเพียงคนเดียวเช่นกัน แต่ท่านอนที่ถูกวางเฉียงอยู่มุมบนซ้ายยังตัดครึ่งตัวด้านบนออกไป เสื่อที่ปูเต็มเกือบทั้งภาพ ปล่อยวางเป็นพื้นขาวให้เห็นพื้นผิวลายเดียวกันกับเสื่อ เธอยังปล่อยให้เห็นคราบสีไหลเฉียงๆ ให้ความรู้สึกและความหมายหลายประการแล้วแต่ ภูมิหลังของผู้ดู เทคนิควิธีการที่เธอค้นคว้าและทดลองจนได้ผลลัพธ์พิเศษให้ผลงานสื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ อย่างรุนแรง และมีอัตลักษณ์ มีความเป็นต้นแบบโดดเด่น จนเป็นที่ยอมรับและยกย่องจากสถาบันต่างๆ เห็นได้ประจักษ์จากเกียรติประวัติที่ได้รับมากมาย และตัวผลงานคือหลักฐานหรือประจักษ์ พยานสำคัญที่เห็นได้ชัดเจน

Powered by MakeWebEasy.com